ค้นหาร้านค้า / Search Shop

ค้นหาเครื่องราง / Search Item

ติดตามพัสดุ

แบนเนอร์โฆษณา

พระโปร่งเปเปอร์มาเช่ ศิลปมัณฑเลย์


พรมารดา อมูเลท
0812879235
kai6518
ศราพงค์ วงค์น้ำ

พระโปร่งเปเปอร์มาเช่ ศิลปมัณฑเลย์
18,500 บ.

พระโปร่งทรงเครื่องกษัตริย์ ศิลปพม่ายุคมัณฑเลย์ ทำจากกระดาษสาแปะขึ้นรูป ขนาดหน้าตักสี่นิ้ว สูงสิบเอ็ดนิ้ว ฐานกว้างหกนิ้วลงรักชาดทองติดกระจกอย่างสวยงาม
อายุร้อยกว่าปี
 
 ศิลปะของเมืองอมรปุระและเมืองมัณฑเลย์ นั้นตั้งแต่พุทธศตวรรษที่    24 จนถึงปัจจุบัน  ราชธานีซึ่งสืบต่อมาหรืออยู่ร่วมสมัยระหว่างหลังเมืองพุกามจนถึงสมัยเมืองอังวะ  ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำอิรวดี  พระเจ้าโบดอปยะ (Bodawpaya)  ได้ย้ายราชธานีจากเมืองอังวะไปที่เมืองอมรปุระในต้นพุทธศตวรรษที่ 24  ปัจจุบันได้รวมเป็นเมืองเดียวกันกับมัณฑะเลย์ (สร้างโดยพระเจ้ามินดงเมื่อพ.ศ. 2400)   ซึ่งหลังจากหมดสมัยอาณาจักรพุกามแล้ว   ศิลปกรรมพม่าดูอ่อนด้อยลงไปกว่าสมัยพุกามมาก   สมัยนี้เองที่เริ่มมีการฟื้นฟูศิลปกรรมแบบพม่าขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง  ในสมัยพระเจ้ามินดง (พ.ศ.2396-2421)  ขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. 2396  ได้ทำไมตรีกับอังกฤษ  พม่าจึงถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ทางภาคใต้  อังกฤษเป็นผู้ปกครอง  เมืองหลวงตั้งอยู่ที่ย่างกุ้ง  และทางภาคเหนือนั้นพม่าเป็นผู้ปกครองเอง  เมืองหลวงอยู่ที่อมรปุระ  ต่อมาพ.ศ. 2400 ได้ย้ายเมืองหลวงมาสร้างใหม่ที่เมืองมัณฑะเลย์  ให้ชื่อว่า กรุงรัตนปุระ ตามชื่อเดิมของเมืองอังวะ   และได้ทำสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งใหญ่เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา   ต่อมาปีพ.ศ. 2428   ยุคของพระเจ้าสีป่อ  อังกฤษได้ส่งกองทัพเข้ายึดพม่าภาคเหนือที่เมืองมัณฑะเลย์  จับตัวพระเจ้าสีป่อไว้ที่ภาคตะวันตกของอินเดียจนกระทั่งสิ้นพระชนม์   และในปีพ.ศ. 2468  เป็นอันสิ้นสุดสถาบันกษัตริย์ของพม่า   ทางด้านศิลปะสมัยหลังได้หันไปเลียนแบบศิลปะแบบประเพณีของพุกาม  การสลักไม้ของพม่าในสมัยมัณฑเลย์นี้ยังคงความงดงาม ซึ่งศาสนาสถานในสมัยนี้นิยมก่อสร้างด้วยเครื่องไม้ มีลวดลายเครื่องประดับอย่างอลังการและประณีตวิจิตรเป็นอย่างยิ่ง  สถาปัตยกรรมอาคารเรือนไม้นิยมสร้างแบบเรือนปราสาทชั้นซ้อนแบบพม่า  ทางพม่าออกเสียงว่า ปะยาทาต (Pyathat)    พระพุทธรูปในสมัยหลังพุกามเชื่อว่ามีการก่อสร้างมากมาย   การสร้างพระพุทธรูปจากหินสลัก  ไม้ และโลหะ  สำหรับประติมากรรมได้แกะสลัก (ทั้งที่เป็นประติมกรรมลอยตัวและสภาพสลักนูน)  มักจะปิดทองหรือทาสีหลากสี  ซึ่งเป็นการแสดงอย่างดียิ่งถึงประเพณีของศิลปะพม่าสมัยใหม่นี้    สำหรับภาพจิตรกรรมฝาผนัง  พบว่าเริ่มนำสีวิทยาศาสตร์ (สีสังเคราะห์) มาใช้   เน้นเทคนิคการใช้สีที่สดใส  เช่น สีฟ้า สีเขียว  เชื่อว่าได้รับแนวคิดและวัตถุดิบจากจีน

ศ, 22 เม.ย. 2565, 16:01
1,459 ราย

Copyright Lanna Amulet All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท ล้านนา อมูเล็ต จำกัด.